วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

39.แนวข้อสอบตำรวจ ตะลุยโจทย์ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547


ตะลุยโจทย์ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

109. ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอกได้รับเงินเดือนระดับใด
ตอบ  ระดับ ส. 8

ถาม  ข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจเอก ร้อยตำรวจโท และร้อยตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับใด
ตอบ  ระดับ  ส.1

ถาม  ข้าราชการตำรวจยศตั้งแต่พลตำรวจเอก ถึง ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรองพิเศษ อาจได้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ โดย
ตอบ  ตราเป็นพระกฤษฎีกา

ถาม  เงินที่ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจคือ
ตอบ  เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว

110. ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรอง ได้รับเงินเดือนระดับใด
ตอบ   ระดับ พ.1

111. ข้าราชการตำรวจซึ่งมิใช่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อาจได้รับเงินเดือนสูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยตราเป็นกฎหมายใด
ตอบ  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

112. ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. โดยความเห็นชอบของหน่วยงานใด
ตอบ   กระทรวงการคลัง

113. ในกรณีที่ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่างลงหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ บุคคลใดมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจที่เห็นสมควรรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น
ตอบ   นายกรัฐมนตรี

ถาม  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจรักษาราชการแทนตั้งแต่ตำแหน่งใดลงมา
ตอบ  ตั้งแต่จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมา

ถาม  ในกรณีไม่มีการแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดรักษาราชการแทน และมีผู้ดำรงตำแหน่งรองของตำแหน่งนั้น ผู้ใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ  ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองเป็นผู้รักษาราชการแทน

ถาม  ถ้ามีไม่ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ให้ผู้ใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ  ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเป็นผู้รักษาราชการแทน

ถาม  ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหลายคน ให้ผู้ใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ  ให้ผู้มีอาวุโสตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.เป็นผู้รักษาราชการแทน

ถาม  ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ  ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีอาวุโสตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.ในส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นเป็นผู้รักษาราชการแทน

ถาม  หากข้าราชการตำรวจตั้งแต่ ผู้บังคับการขึ้นไปได้รับการแต่งตั้งเป็นการย้อนหลัง  การปฏิบัติหน้าที่หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งเดิมที่ได้กระทำไปก่อนมีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง ให้เป็นอัน
ตอบ  ใช้ได้




ถาม  การดำเนินการที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดในกิจการของแต่ละกองบัญชาการ ให้ผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบ  ผู้บัญชาการของแต่ละกองบัญชาการนั้น เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  ในการที่ผู้บัญชาการ ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ผู้บัญชาการจะมอบหมายให้รองผู้บัญชาการปฏิบัติราชการแทนได้หรือไม่
ตอบ  ผู้บัญชาการจะมอบหมายให้รองผู้บัญชาการปฏิบัติราชการแทนก็ได้

ถาม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสามารถระงับการใช้อำนาจในการปฏิบัติราชการแทนของผู้บัญชาการได้หรือไม่
ตอบ   ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการหรือการระงับความเสียหายที่อาจเกิดจากการใช้อำนาจในการปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของผู้บัญชาการ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะระงับการใช้อำนาจของผู้บัญชาการไว้เป็นการชั่วคราวและใช้อำนาจด้วยตนเองก็ได้

ถาม  กรณีใดที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงาน อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ช่วย หรือผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วยราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานถัดลงไปตามลำดับหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าหรือข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรในส่วนราชการหรือในหน่วยงานนั้นปฏิบัติราชการแทนได้
ตอบ  ในกรณีถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น

ถาม  การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ  การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ

ถาม  ผู้รับมอบอำนาจ จะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปได้หรือไม่
ตอบ  ไม่ได้  เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจไว้เป็นกรณี ๆ ไป

ถาม  หลังมอบอำนาจแล้ว  ผู้มอบอำนาจยังมีหน้าที่ในเรื่องที่มอบอำนาจต่อไปหรือไม่
ตอบ  ให้ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่แนะนำ กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ

ถาม  ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้อำนาจหรือหน้าที่ใดเป็นของปลัดกระทรวง การใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ถือเป็นอำนาจของผู้ใด
ตอบ ให้ถือเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  จรรยาบรรณของตำรวจตามที่กำหนดในกฎ  ก.ตร. ให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ  ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ถาม  ในการรักษาวินัย หากผู้บังคับบัญชาละเลยไม่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่า
ตอบ ผู้นั้นกระทำผิดวินัย

114. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างไร
ตอบ   เป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง

115. เมื่อมีความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาวินัยและปราบปรามข้าราชการตำรวจผู้ก่อการกำเริบ หรือเพื่อบังคับข้าราชการตำรวจผู้ละทิ้งหน้าที่ราชการให้กลับทำหน้าที่ของตน ผู้บังคับบัญชาอาจใช้อาวุธหรือกำลังบังคับได้ และถ้าได้กระทำอย่างไร ถึงจะมีผลให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ช่วยเหลือไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ตอบ  กระทำโดยสุจริตตามสมควรแก่เหตุ

ถาม  เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ใช้อาวุธหรือกำลังบังคับข้าราชการตำรวจผู้ละทิ้งหน้าที่ราชการให้กลับทำหน้าที่ของตนแล้ว ผู้บังคับบัญชานั้นต้องรายงานไปยังผู้ใด
ตอบ  ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นจะต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยเร็ว

116. โทษทางวินัย ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547  มีกี่สถาน
ตอบ   7 สถาน  (1.ภาคทัณฑ์  2.ทัณฑกรรม 3.กักยาม 4. กักขัง 5.ตัดเงินเดือน 6.ปลดออก 7. ไล่ออก) มาตรา 82

117. การลงโทษแก่ผู้ที่กระผิดอันควรต้องรับโทษสถานหนึ่งสถานใด แต่มีเหตุอันควรปราณี จึงเพียงแต่แสดงความผิดผู้นั้นให้ปรากฏไว้ คือ
ตอบ  ภาคทัณฑ์

118. การลงโทษทัณฑกรรม ได้แก่การให้ทำงานโยธา การให้อยู่เวรยามนอกหน้าที่ประจำ หรือการให้ทำงานสาธารณประโยชน์ ซึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง
ตอบ  ไม่เกิน หกชั่วโมงต่อหนึ่งวัน

119. การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ที่สมควรตามที่จะกำหนดเป็นการลงโทษทางวินัยได้แก่
ตอบ  การลงโทษกักยาม


ถาม  การลงโทษกักขัง ได้แก่
การขังในที่จัดไว้เพื่อควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือหลายคนรวมกันตามที่จะได้มีคำสั่ง

ถาม  การลงโทษกักยามหรือกักขัง งานที่จะใช้งานได้ไม่เกินหกชั่วโมงต่อวันคือ
ตอบ  งานโยธาหรืองานอื่นของทางราชการ

ถาม  เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการอย่างไร
ตอบ  รีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระผิดวินัยหรือไม่           มาตรา 84

ถาม  เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้บังคับบัญชาต้อง
ตอบ  รีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดหรือไม่

ถาม  เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งลงโทษได้แก่
ตอบ ภาคทัณฑ์  ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด (มาตรา 89)

ถาม  เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอสบสวน

ถาม  เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในการสอบสวน กฎหมายบังคับต้องแจ้งอะไรให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
ตอบ  ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ

ถาม ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่างกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกัน  ให้ผู้ใดเป็นผุ้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ตอบ  ให้ผู้มีอำนาจสำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่า เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน

ถาม   หากมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาหรือมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่แล้ว  ผลการสอบสวนปรากฏนั้นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง  ผู้บังคับบัญชาต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาใหม่อีกหรือไม่
ตอบ  ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสั่งการตามผลการสอบสวนนั้น โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาอีก

ถาม  การสืบสวนต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ตอบ  การสืบสวนต้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการหรือผู้สืบสวนรับทราบคำสั่ง (กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547)


ถาม  การพิจารณาของผู้บังคับบัญชาในกรณีข้าราชการตำรวจถูกกล่าวว่ากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงและอย่างร้ายแรง ต้องพิจารณาสั่งหารให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ตอบ  สองร้อยสี่สิบวันทั้งสองกรณี

ถาม  ในการสอบสวนข้าราชการตำรวจที่ถูกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าฟังได้ว่าได้กระทำผิดวินัย ให้สั่งลงโทษอย่างไร
ตอบ  ให้สั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี

ถาม  โทษปลดออกหรือไล่ออก ถ้ามีเหตุลดหย่อนห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าโทษใด
ตอบ  ห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าปลดออก
ถาม  ในการสืบสวนข้อเท็จจริงให้แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาหรือถูกร้องเรียนให้ผู้ใดทราบ
ตอบ  ในการสืบสวนข้อเท็จจริงให้แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาหรือถูกร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ

ถาม  ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย  ให้ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้สั่งยุติเรื่อง

120. เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่

ถาม   ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม  กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะกับความผิด  ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้

ถาม  การลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยกรณีใด
ตอบ  ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษทัณฑกรรม

ถาม  ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้กระทำความผิดควรได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของตนที่มีอำนาจ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อลงโทษตามควรแก่กรณี

ถาม   กรณีใดที่จะงดโทษให้ ผู้กระทำผิด โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ตอบ  กรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ

ถาม  ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษได้เพียงใด ให้เป็นไปตาม
ตอบ  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.



ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก สำหรับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบ  นายกรัฐมนตรี (มาตรา 90 วรรคแรก + 72 (1) )

ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก สำหรับตำแหน่งรองผู้บัญชาการ
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  ผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่า  มีอำนาจสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตั้งแต่ตำแหน่งใดลงมา
ตอบ  ตั้งแต่ผู้บังคับการ พนักงานสอบสนผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในส่วนราชการนั้น

ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก สำหรับตำแหน่งรองผู้บังคับการ
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ ผู้บัญชาการ

ถาม  ผู้บังคับการมีอำนาจสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก สำหรับตำแหน่งรองผู้บังคับการได้หรือไม่
ตอบ  ไม่ได้

ถาม  การใช้อำนาจสั่งโทษปลดออกหรือไล่ออก ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการ หรือผู้บังคับการ ต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรอง โดยคณะกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
ตอบ  อย่างต้องประกอบด้วยรองหัวหน้าหน่วยงานนั้นทุกคน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

ถาม  ข้าราชการตำรวจผู้ที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง ถูกลงโทษสถานใดให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก
ตอบ  ถูกลงโทษปลดออก

ถาม  เมื่อดำเนินการทางวินัยแล้วแก่ข้าราชการตำรวจผู้ใดแล้ว ให้รายงานอย่างไร
ตอบ  ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยต่อผู้บังคับบัญชาที่มีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการทางวินัยและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  หากผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานเห็นว่าการยุติเรื่อง  การงดโทษหรือการลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม  ผู้บังคับบัญชานั้นมีอำนาจสั่งการอย่างไร
ตอบ  มีอำนาจสั่งลงโทษ เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรือัตราโทษที่หนักขึ้น ลดโทษลงเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง งดโทษโดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนหรือยกโทษให้ถูกต้องหรือเหมาะสมตามควรแก่กรณี

ถาม  การสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้นต้อง
ตอบ  ไม่เกินอำนาจของตนตามมาตรา 89



ถาม  การเพิ่มโทษเมื่อรวมกับอัตราโทษเดิมแล้ว ถ้าเกินอำนาจของตน ให้ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นตามลำดับเพื่อพิจารณา
 
ถาม  ถ้าเห็นว่าการจะสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษนั้นกรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้รายงานต่อผู้ใด
ตอบ  ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งยุติเรื่อง หรือสั่งงดโทษไปแล้ว แต่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน ตามมาตรา 86

ถาม  เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.ตร.พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมหรือสืบสวนใหม่ ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจอำนาจสอบสวน
ตอบ  ให้ก.ตร.มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือตั้งคณะอนุกรรมการหรือให้คณะกรรมการสอบสวนก็ได้

ถาม  ให้ผู้สืบสวน กรรมการสืบสวน และกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานใด
ตอบ  เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

ถาม  กรรมการใดที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตอบ  กรรมการสอบสวน

ถาม  กรณีใดแม้ข้าราชการตำรวจผู้ที่ถูกสอบสวนจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้
ตอบ  กรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือมีกรณีที่ถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ

ถาม  ข้าราชการตำรวจจะถูกการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ได้ในกรณีใด
ตอบ  กรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่าร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ถาม  การสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อเหตุใด
ตอบ  เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย
ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน  สำหรับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบ  นายกรัฐมนตรี (มาตรา 95 วรรคแรก + 72 (1) )

ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับตำแหน่งรองผู้บัญชาการ
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ


ถาม  ผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่า  มีอำนาจสั่ง พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตั้งแต่ตำแหน่งใดลงมา
ตอบ  ตั้งแต่ผู้บังคับการ พนักงานสอบสนผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในส่วนราชการนั้น

ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับตำแหน่งรองผู้บังคับการ
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ ผู้บัญชาการ

ถาม  ผู้บังคับการมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับตำแหน่งรองผู้บังคับการได้หรือไม่
ตอบ  ไม่ได้

ถาม  ข้าราชการตำรวจที่ถูกสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หากภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัยว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ให้ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ก็ให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น

121. เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาที่ให้ผู้ถูกกล่าวโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้

122. ในการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาหรืออำนาจพิจารณาในกรณีที่มีการกล่าวหาว่า ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนั้น จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน นับตั้งแต่ได้รับสำนวน
ตอบ   ภายใน   240  วัน

123. ในการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดไม่ว่าจะร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง ถ้าพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนด ให้ขยายเวลาพิจารณาออกได้เพียงใด
ตอบ  ให้ขยายระเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน  60  วัน

124. โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง คือ
ตอบ  ปลดออก หรือ ไล่ออก

125. ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออกมีผลเมื่อใด
ตอบ    ให้การลาออกมีผลนบตั้งแต่วันที่ผู้นั้นลาออก




126. การพ้นจากตำรวจแห่งข้าราชการตำรวจตำแหน่งใด ที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  จเรตำรวจแห่งชาติ  รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือตำแหน่งเทียบเท่า

127. การพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตำรวจไม่ว่าตำแหน่งใดก็ตาม  โดยวิธีใดที่ไม่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ตอบ  พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย

128. ข้าราชการตำรวจผู้ถูกสั่งลงโทษหรือให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทธรณ์ แต่ต้องอุทธรณ์ภายในเวลาเท่าใด
ตอบ  ภายใน   30  วัน

129. การอุทธรณ์ใดที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ กำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
ตอบ  คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก หรือสั่งให้ออกจากราชการ 

130. การอุทธรณ์ คำสั่งใดที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติกำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ
ตอบ   คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน

131. ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำแหน่งชาติเป็นผู้สั่งลงโทษ ตาม พ.ร.บ.แห่งตำรวจแห่งชาติ กำหนดให้อุทธรณ์ต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด
ตอบ  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

132. ผู้ที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาใด
ตอบ  ภายใน  240  วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

133. ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ทำให้การพิจารณาอุทธรณ์ไม่สามารถแล้วเสร็จภายในเวลากำหนด พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ให้ขยายเวลาได้อย่างไร
ตอบ  ให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน  2  ครั้ง โดยแต่ละครั้งต้องไม่เกิน  60  วัน

134. การร้องทุกข์นำมาใช้ในกรณีใด
ตอบ   กรณีที่ข้าราชการตำรวจเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย หรือเกิดจากการปฏิบัติโดยมิชอบของผู้บังคับบัญชาต่อตน  ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ตร.แล้วแต่กรณี




135. การร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ในเวลาใด
ตอบ   ภายใน  3  วัน นับแต่วันที่เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้อง

136. ผู้ที่มีอำนาจพิจารณาการร้องทุกข์ ต้องพิจารณาคำร้องทุกข์ในเวลาใด
ตอบ   ผู้ที่มีอำนาจพิจารณาร้องทุกข์ ต้องพิจารณาคำร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายใน  240 วัน นับแต่วันที่รับคำร้องทุกข์

137. บุคคลใดเป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการบริหารกองทุน
ตอบ   ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

138. คณะกรรมการบริหารกองทุน จะต้องจัดทำงบการเงินและบัญชีส่งมอบบัญชีตรวจสอบภายในเวลาเท่าใด
ตอบ   ภายใน  120  วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน

139.  ผู้ใดแต่งเครื่องแบบตำรวจโดยไม่มีสิทธิ ต้องระวางโทษเท่าใด
ตอบ   ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงห้าปี  แต่ถ้าได้กระทำภายในเขตซึ่งประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศภาวะฉุกเฉิน หรือเพื่อกระทำความผิดอาญา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหรือสิบปี

140. การกำหนดวิธีการบรรจุ แต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การบังคับบัญชา การโยกย้าย รวมตลอดทั้งการปรับยศและปรับเงินเดือนข้าราชการตำรวจประเภทมียศ และไม่มียศนั้น ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ตอบ   ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

141. กองทุนที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนงานสอบสวนสอบสวนคดีอาญา ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีชื่อว่า
ตอบ  กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา

142.ข้าราชการตำรวจแต่งเครื่องแบบในขณะกระทำความผิดอย่างใดจึงต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี
ตอบ  กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป

143.ในการแสดงภาพยนตร์ ละคร หรือการแสดงอื่นใดทำนองเดียวกันที่ประสงค์จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน หากผู้แสดงประสงค์จะแต่งเครื่องแบบหรือแต่งการโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายตำรวจต้องแจ้งต่อ
ตอบ หัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่จะทำการแสดงเช่นว่านั้น


144. คณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติให้นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับส่วนใด ให้เป็นของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ตอบ  เงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ และเงินค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

145. ผู้ใดเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
ตอบ  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี

146. เมื่อสอบบัญชีเสร็จแล้วให้  สตง.รายงานผลไปที่ใด
ตอบ  รายงานผลการสอบบัญชีของกอทุนเสนอต่อ ก.ต.ช. และกระทรวงการคลัง
ถาม   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจมีทั้งหมดกี่คน
ตอบ   6 คน

ถาม   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านใด
ตอบ 1. ด้านนิติศาสตร์ 2.รัฐศาสตร์  3.เศรษฐาศาสตร์  4.รัฐประศาสนศาสตร์  5.อาชญาวิทยา และ 6. ด้านยุติธรรมหรือสาขาอื่นตามที่ ก.ตร.กำหนด สาขาละไม่เกินหนึ่งคน


ถาม   ให้มีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นได้อีก ในกรณีใด และเพิ่มได้จำนวนเท่าใด
ตอบ ในกรณีที่มีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นได้อีกตามจำนวนของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นนั้น

ถาม  บุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ อาจได้รับการสรรหาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ หากพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วกี่ปี และมีอายุไม่เกินกี่ปี
ตอบ  หากพ้นความเป็นตำรวจไปแล้วเกินสิบปี และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปี

ถาม  บุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ และพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วสิบปี และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีอาจได้รับการสรรหาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ แต่งต้องมีจำนวนไม่เกินกี่คน
ตอบ  ไม่เกินหนึ่งคน

ถาม  บุคคลใดเป็นเลขานุการ ก.ตร.
ตอบ  ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

ถาม  บุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลานุการ ก.ตร.
ตอบ  รองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

ถาม  บุคคลใดเป็นผู้ประกาศรายชื่อกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ  นายกรัฐมนตรี

ถาม   หน่วยงานใดมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรฐานบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจและจัดระบบราชการตำรวจรวมตลอดทั้งการอบรมและพัฒนาข้าราชการตำรวจ
ตอบ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.)




ถาม  หน่วยงานใดมีอำนาจหน้าที่รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน  เงินประจำตำแหน่ง  เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการตำรวจให้เหมาะสม
ตอบ  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.)

ถาม   หน่วยงานใดมีอำนาจหน้าที่กำหนดชั้นยศที่ควรบรรจุแต่ตั้งและอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับสำหรับวุฒิปริญญา หรือประกาศนียบัตรต่าง ๆ
ตอบ  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)

ถาม  ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ  บุคคลหรือหน่วยงานใดเป็นผู้วินิจฉัย
ตอบ  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)

ถาม  กฎ ก.ตร.ให้ใช้บังคับได้เมื่อ
ตอบ  เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ถาม  กฎที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจออก เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการโยกย้ายข้าราชการตำรวจ  มีผลใช้บังคับวันใดนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ   เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน  นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ถาม   ในกรณีที่ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้เลือกตามจำนวนที่พึ่งจะมิได้ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ  ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวน

ถาม  ให้ขึ้นบัญชารายชื่อผู้ซึ่งไม่ได้รับเลือก ซึ่งอยู่ในอันดับถัดจากผู้ได้รับเลือกลงมาตามลำดับไว้จำนวนเท่าใด
ตอบ  ตามจำนวนที่ ก.ตร.เห็นสมควร

ถาม   กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ตอบ  คราวละ 4 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น

ถาม   กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงเท่าใด
ตอบ  ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง

ถาม  ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยรับราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบวาระต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อในประเภทกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิในอันดับแรกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ(ลำดับต่อมา)แทน  ตามมาตรา  40


ถาม   ในการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ให้ได้รับเลือกอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้เป็นผู้ที่ได้รับเลือก

ถาม   การดำรงตำแหน่งของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ดำรงตำแหน่งแทนนั้นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเท่าใดจึงจะไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง
ตอบ   ไม่เกิน 2 ปี

ถาม   ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  จะต้องดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิใหม่  ในเวลาใด
ตอบ  ภายใน 60 วัน  ก่อนครบวาระ

ถาม . การประชุมของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.)จะต้องมีกรรมการประชุมเป็นจำนวน  เท่าใดจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม
ตอบ  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด

ถาม   บุคคลใดมีอำนาจเรียกประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
ตอบ  ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ

ถาม  ในกรณีที่กรรมการข้าราชการตำรวจไม่น้อยกว่า 6 คน ร้องขอให้เรียกประชุม  ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจจะต้องเรียกประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจภายในกี่วัน นับแต่วันได้รับร้องขอ
ตอบ  7 วัน

ถาม  ในกรณีที่ ก.ตร.มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ผู้ใดเป็นผู้เสนอเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.ตร.
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสนอ  แต่ไม่ติดสิทธิกรรมการข้าราชการตำรวจคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ

ถาม  ตำแหน่งข้าราชการตำรวจมีจำนวนกี่ตำแหน่ง
ตอบ   13  ตำแหน่ง

ถาม  การกำหนดตำแหน่งเรียกชื่ออย่างอื่นให้มีเฉพาะ
ตอบ   ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัด

ถาม  ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเมื่อหมดความจำเป็นตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร.แล้ว ให้
ตอบ  ยุบตำแหน่งนั้น




ถาม  จะให้มีตำแหน่งข้าราชการตำรวจตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอย่างใด ให้เป็นไปตาม
ตอบ  เป็นไปตามที่ ก.ตร.กำหนด

ถาม  การบรรจุคนเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจหรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งใด ที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ตร.กำหนดอาจทำได้หรือไม่
ตอบ  ทำไม่ได้  เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ตร.อาจอนุมัติให้บรรจุหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะพะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ก็ได้ (มาตรา 59)

ถาม  ในส่วนราชการต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้มีตำแหน่งข้าราชการตำรวจตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ตร.กำหนด โดยให้คำนึงถึง
ตอบ  ลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน รวมทั้งความมีประสิทธิภาพและการประหยัด

ถาม  การกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการตำรวจตั้งแต่ตำแหน่งผู้บังคับการ  พนักงานสวบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใดก่อน
ตอบ  คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)

ถาม  การที่จะให้พนักงานสอบสวนตามมาตรา 44  ได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามระเบียบ ก.ตร. กำหนดต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ตอบ  กระทรวงการคลัง

ถาม  ในการกำหนดจำนวนเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษของพนักงานงานสอบสวน ให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและการดำรงตนอยู่ในความยุติธรรมได้อย่างมีเกียรติ โดยเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่รัฐจ่ายให้แก่ผู้ใด
ตอบ  ข้าราชการการฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

ถาม   พนักงานสอบสวนชำนาญการ ต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วกี่ปี ถึงมีสิทธิเป็นพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
ตอบ  ไม่น้อยกว่า 3 ปี

ถาม  พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ จะได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิกรณีใด
ตอบ  เมื่อดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และได้รับเงินเดือนขั้นต่ำกว่าระดับ  ส.4  และผ่านการประเมินแล้ว

ถาม  ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนมีกี่ประเภท
ตอบ  6 ประเภท  คือ พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ



ถาม  พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วเป็นระยะเวลาเท่าใดจึงจะมีสิทธิเป็นพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
ตอบ  ไม่น้อยกว่า 3 ปี

ถาม  ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน ให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง  ไปตำแหน่งที่สูงอย่างไร
ตอบ  พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ  พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ  พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

ถาม  ในการประเมินพิจารณาเลื่อนตำแหน่งพนักงานสอบสวน ให้นำอะไรมีประกอบการพิจารณา
ตอบ  ให้นำปริมาณและคุณภาพของสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณาด้วย

ถาม  การแต่งตั้งพนักงานสอบสวน จะมีจำนวนเท่าใด มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาเพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบใด
ตอบ  ระเบียบ ก.ตร.

ถาม   ผู้จะได้รับการบรรจุเข้าราชการตำรวจ  ต้องมีสัญชาติไทย
ตอบ  โดยการเกิด

ถาม   ผู้จะได้รับการบรรจุเข้าราชการตำรวจ  ต้องมีอายุเท่าใด
ตอบ ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

ถาม   การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจและชั้นสัญญาบัตรให้บรรจุจากบุคคลใด
ตอบ  ให้บรรจุจากบุคคลผู้ได้รับคัดเลือกหรือสอบแข่งขันได้

ถาม  ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกและสอบแข่งขัน
ตอบ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่ตั้งจาก
ตอบ  ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก

ถาม   ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโท หรือ พลตำรวจเอก

ถาม  ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโท

ถาม   ตำแหน่งผู้บัญชาการ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรี หรือ พลตำรวจโท

ถาม   ตำแหน่งรองผู้บัญชาการ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ยศพลตำรวจตรี

ถาม   ข้าราชการตำรวจตำแหน่งผู้บังคับการและพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ยศพันตำรวจเอก ซึ่งได้รับอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอกพิเศษ หรือ พลตำรวจตรี

ถาม  ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ตำแหน่งใดที่จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
ตอบ  ตั้งแต่ตำแหน่งผู้บังคับการ ขึ้นไป ถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม   ข้าราชการตำรวจตำแหน่งผู้กำกับการ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ   ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก หรือ พันตำรวจโท

ถาม   ข้าราชการตำรวจตำแหน่งสารวัตร ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ ข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจเอกขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าพันตำรวจโท

ถาม   ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองสารวัตร ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ยศร้อยตำรวจตรีขั้นไปแต่ไม่สูงกว่าร้อยตำรวจเอก

ถาม   ข้าราชการตำรวจตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศใด
ตอบ  ยศสิบตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าดาบตำรวจ

ถาม  ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บังคับหมู่ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจชั้นใด
ตอบ  ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ

ถาม   การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดบ้างที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้ง
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ    ผู้บัญชาการตำรวจ   รองผู้บัญชาการ     ผู้บังคับการ

ถาม   การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานใดเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อน แล้วจึงให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
ตอบ  คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ  (ก.ต.ช.)




ถาม   บุคคลใดเป็นผู้คัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจเพื่อเสนอพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบ  นายกรัฐมนตรี


ถาม  ผู้ใดเป็นผู้คัดรายชื่อข้าราชการตำรวจเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็น จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  ผู้ใดเป็นผู้คัดรายชื่อข้าราชการตำรวจเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการ
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม   การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ผู้บัญชาการ  หน่วยงานใดเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
ตอบ  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)

ถาม  การแต่งตั้ง รองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูนเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

ถาม  การแต่งตั้ง รองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในกองบัญชาการที่มิได้สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบัญชาการนั้น เสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาเสนอ ก.ตร.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูนเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง


ถาม  ถ้าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่า การคัดเลือกของผู้บัญชาการยังไม่เหมาะสม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะทำอย่างไร
ตอบ  จะทำความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะและเหตุผลเสนอ ก.ตร.เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้

ถาม  การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิลงมา  ไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิมภายในกองบังคับการที่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้ใดเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ตอบ  ผู้บังคับการ




ถาม  ในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิลงมา ไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิมในกองบัญชาการที่สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้ใดเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ตอบ  ผู้บัญชาการ

ถาม  การแต่งตั้ง จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการ เมื่อ ก.ตร.ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้ใดเป็นผู้แต่งตั้ง
ตอบ  พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง  โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำความกราบบังคมทูล

ถาม  ผู้ใดเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้าราชการตำรวจผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44(2) ถึง (10)
ตอบ  ก.ตร.

ถาม  คณะกรรมการคัดเลือกเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้าราชการตำรวจผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (2) ถึง (10) ต้องประกอบด้วยบุคคลใดเป็นอย่างน้อย
ตอบ  อย่างน้อยต้องประกอบด้วยรองหัวหน้าหน่วยงานนั้นทุกคน

ถาม  การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจไปดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ  ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม

ถาม  การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจไปดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าตำแหน่งเดิมสามารถทำได้หรือไม่
ตอบ  ทำไม่ได้  เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ตร.อาจอนุมัติให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมเป็นพิเศษเฉพาะรายได้

107. ผู้ที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร จากบุคคลผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันได้ ต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นระยะเวลาเท่าใด
ตอบ  ไม่น้อยกว่า   6  เดือน

ถาม  ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ให้ถือว่า...
ตอบ   ไม่ให้ถือว่าผู้นั้นเคยรับราชการเป็นตำรวจ







ถาม  บุคคลใดมีอำนาจสั่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่วนราชการใดหรือสำรองราชการในส่วนราชการใด โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้
ตอบ  นายกรัฐมนตรี

ถาม  ผู้ใดมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจทุกตำแหน่งประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่วนราชการใดหรือสำรองราชการในส่วนราชการใด โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ถาม  ในกองบัญชาการหรือในส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ ผู้ใดมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจสำรองราชการในส่วนราชการใด โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้
ตอบ  ผู้บัญชาการ

ถาม  การโอนข้าราชการตำรวจไปรับราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นจะกระทำได้เมื่อ
ตอบ เจ้าตัวสมัครใจและส่วนราชการหรือหน่วยงานต้องการจะรับโอนผู้นั้น โดยให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ขอรับโอนทำความตกลงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


ถาม  ข้าราชการใดที่สามารถโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจได้
ตอบ  จากข้าราชการทุกประเภทและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ถาม  ข้าราชการใดที่ไม่สามารถโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจได้
ตอบ  ข้าราชการการเมือง ข้าราชการอื่นทุกประเภทซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ และพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน

ถาม  ข้าราชการตำรวจจึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นขอกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ  แต่จะต้องไม่เกินกี่ปี
ตอบ  ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

ถาม  ข้าราชการตำรวจซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการที่จะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ต้องไม่ใช่การออกจากราชการในกรณีใด
ตอบ  ไม่ใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ


ถาม  การโอนข้าราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการตำรวจหรือการโอนพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ จะกระทำได้เมื่อ
ตอบ  เมื่อเจ้าตัวสมัครใจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการจะรับโอนผู้นั้น

ถาม  ผู้ใดเป็นผู้สั่งเลื่อนเงินเดือนสำหรับข้าราชการตำรวจระดับ ส.8 ระดับ ส.7 และระดับ ส.6
ตอบ  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ตร.แล้ว

ถาม  การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินสองขั้น ต้องได้รับอนุมัติจาก
ตอบ  จาก  ก.ตร.เป็นพิเศษเฉพาะราย

ถาม  ก.ตร.จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ในกรณีที่
ตอบ  ข้าราชการตำรวจผู้นั้นถึงแก่คามตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่

ถาม  การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติ คุณธรรมและจริยธรรม เป็นหน้าที่ของผู้ใด
ตอบ  เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา

ถาม  ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอกซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้รับเงินเดือนขั้นใด
ตอบ   ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับ ส. 



























ไม่มีความคิดเห็น: