วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

11.แนวข้อสอบบริหารบ้านเมือง


อัลบัมที่1

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

1.     
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ. 2546 ได้ตราขึ้นตาม กฎหมาย     ข้อใด

       
ก.  กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539

       
ข.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539

       
ค.  กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

       
ง.  ถูกทุกข้อ

2.     
ในทางปฏิบัติราชการส่วนใดจะปฏิบัติเมื่อใดต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดให้ปฏิบัติตามพระราช กฤษฎีกานี้

       
ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัด                                                                ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

       
ค.  นายกรัฐมนตรี                                                                        ง.  คณะรัฐมนตรี

3.     
ใครมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ (แก่คณะรัฐมนตรี) ก่อนจะปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดบ้าง

       
ก.  คณะรัฐมนตรี                                                                         ข.  ก.พ.

   
ค.  ก.พ                                          ง.  ก.พ.อ.

4.     
คำว่า "ส่วนราชการ" ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ.2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายข้อใด

       
ก.  ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ   

       
ข.  ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

       
ค.  ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม

       
ง.  ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

5.     
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ

       
ก.  7 ประการ                                                                                ข.  6  ประการ

       
ค.  5 ประการ                                                                                ง.  4 ประการ

6.     
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป้าหมายสูงสุดคือข้อใด

       
ก.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

       
ข.  เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน

       
ค.  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

       
ง.  เกิดผลคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

7.     
ความบริหารของการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลตามข้อใด

       
ก.  ความผาสุขของประชาชน

       
ข.  ความอยู่ดีของประชาชน

       
ค.  ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน

       
ง.  ถูกต้องทั้งหมด

8.     
ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยเอาอะไรเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการ

       
ก.  หน่วยราชการ                                                                         ข.  ประเทศ

       
ค.  สังคมและชุมชน                                                                    ง.  ประชาชน

9.     
ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและจะ     สอดคล้องตามข้อใด

       
ก.  สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและ ก.พ.ร.กำหนด

       
ข.  สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี

       
ค.  สอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและแนสนโยบายกระทรวง

       
ง.  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ

10. 
ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นส่วนราชการจะต้องต้องมีแนวทางในการบริหารราชการกี่ประการ

       
ก.  5 ประการ                                                                                ข.  6 ประการ

       
ค.  7 ประการ                                                                                ง.  8 ประการ

11. 
ส่วนราชการใดที่จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้นจะต้องมีการกำหนดแนวทางการ  บริหารราชการตามข้อใดเป็นอันดับแรก

       
ก.  กำหนดภารกิจการบริหารกิจการราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ

       
ข.  จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้ครบทุกด้านที่กระทบต่อประชาชน

       
ค.  ศึกษาปัญหาและอุปสรรคก่อนการดำเนินการแล้วปรับปรุงโดยเร็ว

       
ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

12. 
ในทางปฏิบัติหากมีกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการปฏิบัติตามข้อใด

       
ก.  แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว

       
ข.  แจ้งเรียนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องได้ทราบปัญหา

       
ค.  แจ้ง ก.พ.ร. ให้รับทราบ

       
ง.  แจ้งผู้บังคับบัญชาให้แก้ไขระเบียบข้อบังคับมันโดยเร็ว

13. 
ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้นจะต้องดำเนินการตามข้อใดเป็นอันดับแรก

       
ก.  จัดทำแบบปฏิบัติราชการโดยมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณตลอดจนเป้าหมายของ                             ภารกิจนั้น

       
ข.  รับความฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้วกำหนดภารกิจ

       
ค.  จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น

       
ง.  กำหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของรัฐ

14. 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติราชการแผ่นดินโดยจัดทำ เป็นแผนตามข้อใด

       
ก.  2 ปี                                            ข.  3 ปี                                    ค.  4 ปี                                    ง.  5 ปี

15. 
หน่วยงานใดขาดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่

       
ก.  สำนักงบประมาณ

       
ข.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

       
ค.  ก และ ข ถูก

       
ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข เท่านั้น

16. 
ในการลดขั้นตอยการปฏิบัติงานนั้นส่วนราชการจะทำตามข้อใด

       
ก.  กระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาติการอนุมัติให้แก่ผู้ดำเนินการเรื่องนั้นได้โดดยตรง

       
ข.  ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มภารกิจที่บริการให้มากที่สุด

       
ค.  ให้ประชาชนผู้ร่วมบริการรวมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมและศูนย์บริการเพียงแห่งเดียว

       
ง.  ถูกทุกข้อ

17. 
ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนราชการจะจัดให้มีตามข้อใด

       
ก.  กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน

       
ข.  ให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการหรือข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการนั้น

       
ค.  ให้มีอำนาจออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อบังคับใช้

       
ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

18. 
ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการคือข้อใด

       
ก.  คณะ ก.                        ข.  ก.พ.ร.

   
ค.  ก.พ                           ง.  คณะผู้ประเมินอิสระ

19. 
ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการอาจจัดให้มีการประเมินข้อใดบ้าง

       
ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                                         ข.  หน่วยงานในส่วนราชการ

       
ค.  ข้าราชการ                                                                               ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

20. 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของภารกิจนี้ อย่างน้อยจะต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับข้อใดบ้าง

       
ก.  การลดขั้นตอน การปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน

       
ข.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

       
ค.  เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนและไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติเกินความจำเป็น

       
ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

21. 
ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ คือ

       
ก.  สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

       
ข.  สำนักนายกรัฐมนตรี

       
ค.  กระทรวงมหาดไทย

       
ง.  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เฉลยอัลบัมที่1
1. 
        2.          3.          4.          5. 

6. 
        7.          8.          9.          10. 

11. 
      12.      13.        14.        15.       

16. 
      17.        18.        19.        20.     21. 

หลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีชื่อย่อ

 ก.   ก.พ.                               ข.  ก.พ.ร.               

ค. กพ. รร.                                ง.  ก.ร.ร.                 

จ. ไม่มีข้อใดถูก

2. ก.พ.ร. ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่เกิน

ก.  11  คน                                ข.  12  คน             

ค.  13  คน                                ง .  14  คน             

จ.  15  คน

3. สำนักงาน ก.พ.ร. ในปัจจุบันมีฐานะอย่างไร

      ก. ไม่เป็นส่วนราชการ ไม่มีฐานะเป็นกรม

      ข. ไม่เป็นส่วนราชการ แต่มีฐานะเทียบเท่ากรม

      ค. เป็นส่วนราชการอิสระ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม

      ง. เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานะเป็นกรม

      จ. เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม

4. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.

   ก. เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ การพัฒนาระบบราชการ

      ข. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม

      ค. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการ

          ที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น

      ง. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

      จ. เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบ การพิจารณา

5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ

ก.  2  ปี                    ข.  3  ปี                   

ค.  4  ปี                    ง.  5  ปี                   

จ.   6  ปี

6 .เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็น

      ก. ข้าราชการการเมือง

      ข. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

      ค. ข้าราชการวิสามัญ

      ง. พนักงานราชการ

      จ. พนักงานของรัฐ

7. ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ

      บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการ

      บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยต้องคำนึงถึง

      ก. ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน

      ข. การมีส่วนร่วมของประชาชน

      ค. การเปิดเผยข้อมูล

      ง.  การติตามตรวจสอบและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน

      จ. ถูกทุกข้อ

8. ข้อใดถูกต้อง

            ก. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2545

      ข. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

      ค. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2545

      ง. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

      จ. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสร้างหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

9. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกา

      ก. ประชาชนได้รับความอำนวยสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

      ข. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

      ค. การบริการประชาชนด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์

      ง. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

      จ. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

10. การดำเนินการโดยถือว่า ?ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะได้รับการบริการจากรัฐ? อยู่ในหลักการบริหาร

      กิจการบ้านเมืองที่ดี ข้อใด

      ก. ประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

      ข. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

      ค. การบริการประชาชนด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์

      ง. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

      จ. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

11. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงบประมาณจะต้องร่วมกันจัดทำแผน

      การบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน

ก.  30  วัน                                ข.  45  วัน             

ค.  60  วัน                                ง.  90  วัน               

จ.  120  วัน

12. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ทำแผนนิติบัญญัติ

      ก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

      ข. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

      ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

      ง. ถูกทั้งข้อ ก.  และ ข.

   จ. ถูกทั้งข้อ ก.  ข.  และ  ค.

13. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดทำเป็นแผน

ก.  1  ปี                                    ข.  2  ปี                   

ค.  3  ปี                                    ง.  4  ปี                   

จ.  5  ปี

14. ให้ส่วนราชการจัดทำ...................... ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

      ก. แผนการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการ

      ข. แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

      ค.แผนปฏิบัติราชการเพื่อของบประมาณ

      .แผนพัฒนาการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

      จ. ไม่มีข้อใดถูก

15. สาระสำคัญในแผนปฏิบัติราชการประจำปี คือ

      ก. นโยบายการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการ

      ข. เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน

      ค. ประมาณการรายได้และรายจ่าย

      ง. ทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้

      จ. ถูกทุกข้อ

16. หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ ?บัญชีต้นทุน? ในงานบริการสาธารณะ

      ก. กรมบัญชีกลาง

      ข. สำนักงบประมาณ

      ค. กระทรวงการคลัง

      ง. ธนาคารแห่งประเทศไทย

      จ. สำนักงาน ก.พ.ร.

17. ใครบ้างที่ต้องดำเนินการเรื่อง ศูนย์บริการร่วม

      ก. ปลัดกระทวง

      ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด

      ค. นายอำเภอ

      ง. ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

      จ. ถูกทุกข้อ

18. สิ่งใดบ้างที่ส่วนราชการต้องทำและเปิดเผยให้ประชาชนทราบ

      ก. แผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ

      ข. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน

      ค. ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ รายจ่ายแต่ละปี

      ง. เป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงาน

          หรือโครงการ

      จ. ถูกทุกข้อ

19.ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการจะประเมินเกี่ยวกับ

      ก. ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ

      ข. คุณภาพการให้บริการ

      ค. ความพึงพอใจของประชาชนผุ้รับบริการ

      ง.ความคุ้มค่าในภารกิจ

      จ. ถูกทุกข้อ

20. ข้อใดถูกต้องในการสั่งราชการ

      ก. โดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร

      ข. กรณีมีความจำเป็นผู้บังคับบัญชาอาจสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้

      ค. ถ้ามีการสั่งการด้วยวาจา ผู้รับคำสั่งต้องบันทึกคำสั่งนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร

      ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.

      จ. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. 

เฉลย

1.               2.           3.           4.           5.           6.          7.           8.           9.           10.

11.                12.         13.         14.        15.         16.         17.         18.         19.         20.

ชุดที่ 3

1.  ในกรปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน   อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่ส่วนราชการควรกำหนดและประกาศให้ประชาชนทราบ

        ก.  ระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละงาน                                     ข.  จำนวนเงินงบประมาณของแต่ละงาน

        ค.  จำนวนบุคลากรของแต่ละงาน                                            ง.  วัตถุประสงค์ของแต่ละงาน

        ตอบ  ก.  (หมวดที่ 7 มาตรา 37)

2.  ผู้ใดมีหน้าที่ตรวจสอบ ว่างานเสร็จตามเวลาที่กำหนดหรือไม่

        ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                                         ข.  ปลัดกระทรวง

        ค.  นายกรัฐมนตรี                                                                        ง.  อธิบดี

        ตอบ  ก. ผู้บังคับบัญชา (หมวดที่ 7 มาตรา 37 วรรคสอง)

3.  เมื่อส่วนราชการใด ได้ติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นต้องตอบ        คำถามหรือแจ้งให้ทราบภายในกี่วัน

        ก.  15 วัน                                                                                       ข.  ภายในกำหนดเวลาที่กำหนด

        ค.  ทั้งข้อ ก และ ข                                                                            ง.  30 วัน

4.  การจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ต้องจัดตามระบบเดียวกับหน่วยงานใด

        ก.  ระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและกานสื่อสาร

        ข.  ระบบเดียวกับที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศใช้

        ค.  ระบบเดียวกับคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ

        ง.  ระบบเดียวกับที่กระทรวงคมนาคมรับรอง

        ตอบ  ก.  (หมวดที่ 7 มาตรา 39)

5.  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ได้จัดการอย่างไร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชน     ในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง

        ก.  จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น

        ข.  จัดให้มีระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์กลางขึ้น

        ค.  จัดให้มีระบบศูนย์เครือข่ายบริการประชาชนกลางขึ้น

        ง.  จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศภาคประชาชนขึ้น

        ตอบ  ก.  จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น (หมวดที่ 7 มาตรา 40)

6.  ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ให้ทำอย่างไร

        ก.  ให้กระทรวงต้นสังกัดของหน่วยงานจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ

        ข.  ให้สำนักงานพัฒนาระบบราชการไทยดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ

        ค.  ร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีฯ ดำเนินการจัดระเบียบเครือข่ายสารสนเทศ

        ง.  ร้องขอให้สำนักงบประมาณจัดงบประมาณให้จัดระบบเครือข่ายสารสนเทศ

        ตอบ  ค. (หมวดที่ 7 มาตรา 40)

7.  กรณีที่ส่วนราชการ ได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ เป็นหน้าที่ของใคร ที่จะต้องพิจารณาดำเนินการ

        ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                                         ข.  นายกรัฐมนตรี

        ค.  ส่วนราชการนั้น                                                                     ง.  ปลัดกระทรวง

        ตอบ  ค.  ส่วนราชการนั้น (หมวดที่ 7 มาตรา 41)

8.  กรณีได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ จากข้าราชการ หรือส่วนราชการอื่น ให้ผู้ออกกฎระเบียบ พิจารณาชี้แจงให้ทราบภายในกี่วัน

        ก.  5 วัน                                                                                         ข.  10 วัน

        ค.  15 วัน                                                                                       ง.  20 วัน

        ตอบ  ค.  15 วัน (หมวดที่ 7 มาตรา 42(2) )

9.  ตามข้อ 8 การร้องเรียน หรือเสนอแนะ ส่วนราชการ จะแจ้งผ่านหน่วยงานใดได้อีก

        ก.  แจ้งผ่าน ก.พ.ร. ได้

        ข.  แจ้ง ผ่านสำนักนายกฯ ได้

        ค.  แจ้งผ่าน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้

        ง.  แจ้งผ่าน คมช. ได้

        ตอบ  ก.  แจ้งผ่าน ก.พ.ร. ได้ (หมวดที่ 7 มาตรา 42 วรรคสาม)

10.  การปฏิบัติราชการในเรื่องใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่ข้อใด

        ก.  เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ

        ข.  เพื่อความจำเป็นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

        ค.  การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงกำหนดให้เป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น

        ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 43)

      ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 43)

11.  เรื่องใด ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผย

        ก.  ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี

        ข.  รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อ หรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น

        ค.  สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างแล้ว

        ง.  ถูกทุกข้อ

        ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 44)

12.  ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมีข้อความใดบ้าง

        ก.  ห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว

        ข.  ควรเปิดเผยสัญญา

        ค.  ควรเปิดเผยข้อตกลงในสัญญา

        ง.  ไม่มีข้อห้ามทุกข้อ

      ตอบ  ก. (หมวดที่ 7 มาตรา 44)

13.  ส่วนราชการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ งบประมาณรายจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง และสัญญาใด เว้นแต่

        ก.  เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย

        ข.  เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ กฎ ระเบียบ

        ค.  เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองความลับทางราชการ

        ง.  ถูกทุกข้อ 

        ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 7 มาตรา 44)

14.  การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน การจัดระบบสารสนเทศ เป็นการบริหารราชการแบบใด

        ก.  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

        ข.  การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ

        ค.  การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน

        ง.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

        ตอบ  ค. (หมวดที่ 7 มาตรา 37 - 40)

15.  การรับฟังข้อร้องเรียน การเปิดเผยข้อมูล เป็นการบริหารราชการแบบใด

        ก.  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

        ข.  การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ

        ค.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

        ง.  การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน

        ตอบ  ง.  (หมวดที่ 7 มาตรา 41 - 44)

 16.  การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวข้องกับข้อใด

        ก.  เกิดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ

        ข.  คุณภาพการให้บริการ

        ค.  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

        ง.  ถูกทุกข้อ

        ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ (หมวดที่ 8 มาตรา 45)

17.  ตามข้อ 16 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ผู้ใดกำหนด

        ก.  ก.พ.ร                    ข.  ครม.

    ค.  คมช                                    ง.  รมว

        ตอบ  ก.พ.ร. (หมวดที่ 8 มาตรา 45)

18.  การประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาและละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการจะต้องกระทำในลักษณะ ใด

        ก.  ต้องกระทำเป็นความลับ

        ข.  ต้องกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ

        ค.  ต้องเปิดเผย

        ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก

        ตอบ  ง.  ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก (หมวดที่ 8 มาตรา 46)

19.  การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่ออะไร

        ก.  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล

        ข.  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบราชการ

        ค.  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ

        ง.  ถูกหมดทุกข้อ

        ตอบ  ก.  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล (หมวดที่ 8 มาตรา 47)

20.  ในกรณีที่ส่วนราชการ ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายกำหนด ให้ผู้ใด เสนอ ครม. จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษให้ส่วนราชการ

        ก.  ก.พ.ร                             ข.  ครม.

    ค.  คม                                    ง.  รมว.

   ตอบ  ก.  ก.พ.ร. (หมวดที่ 8 มาตรา 48)

21.  การจัดสรรเงินรางวัล ให้ข้าราชการในสังกัด เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ผู้ใดกำหนด

        ก.  ก.พ.ร                             ข.  ครม.

    ค.  คมช                              ง.  รมว.

    ตอบ  ก.  ก.พ.ร. (หมวดที่ 8 มาตรา 48)

22.  ตามข้อ 21 โดยความเห็นชอบของผู้ใด

        ก.  ก.พ.ร                              ข.  ครม.

    ค.  คมช                                 ง.  รมว.

    ตอบ  ข.  ครม. (หมวดที่ 8 มาตรา 49)

23.  เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินการไปตามเป้าหมายโดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ ก.พ.ร. กำหนด    แล้ว ก.พ.ร. สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรสิ่งใดให้หน่วยราชการนั้น

        ก.  เพื่อจัดสรรรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น

        ข.  เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการนั้นใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น

        ค.  ข้อ ก. และ ข. ถูก

        ง.  ข้อ ก. และ ข. ผิด

        ตอบ  ค.  ข้อ ก. และ ข. ถูก (หมวดที่ 8 มาตรา 49)



ไม่มีความคิดเห็น: