วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

13.ข้อสอบเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูญ

เเห่งราชอาณาจักรไทย  2550



หมวดที่ 1 บททั่วไป

1.      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบบที่เท่าใด
             ตอบ  18

2.      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
          ตอบ  วันที่ 24 สิงหาคม  พ.ศ. 2550

3.      รัธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยกี่หมวด กี่มาตราฃ                           
          ตอบ  15  หมวด  309 มาตรา

 4.      บุคคลใดเป็นผู้สนองพรบรมราชโองการในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
          ตอบ  นายมีชัย  ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

5.      รัฐธรรมนูญที่จัดทำใหม่นี้ มีหลักการสำคัญอย่างไร
          ตอบ  ส่ง เสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้น สนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ อย่างเป็นรูปธรรม กำหนดกลไกสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา สร้างเสริมสถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดย สุจริตเที่ยงธรรม และเหนือสิ่งอื่นใด คือ การเน้นย้ำคุณค่าและความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมาภิบาลอันเป็นหลักจรรโลงชาติ

6.      การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักการใด
          ตอบ  หลักนิติธรรม

7.      หากไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดได้ ให้วินิจฉัยกรณีนั้นเป็นไปโดยใช้หลักการใด
         ตอบประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


หมวดพระมหากษัตริย์

 8.     พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านองค์กรใดบ้าง
          ตอบ  รัฐสภา (นิติบัญญัติ)  คณะรัฐมนตรี (บริหาร)  และศาล (ตุลาการ)
  
9.        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กล่าวถึงที่มาของอำนาจอธิปไตยไว้อย่างไร
          ตอบ  อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

10.     องคมนตรีที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งมีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน
          ตอบ  ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน (รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 19 คน)
                           
11.     บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
          ตอบ  ประธานรัฐสภา (มีข้อสังเกตว่าตำแหน่งประธานรัฐสภา เป็นตำแหน่งทางด้านนิติบัญญัติดังนั้นการดำเนินการ

12.     บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
          ตอบ  ประธานองคมนตรี

13.     บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
          ตอบ  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราช อัธยาศัย ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นเป็นผู้ดำรงตำแหน่งดังนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ๆ

14.      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติพระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงอยู่ในฐานะองค์พระประมุขแล้ว ยังทรงเป็นอะไรอีกบ้าง
            ตอบ  ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นพระพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

15.     ในเมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และให้ใครเป็นผู้ลง นามรับสนองพระบรมราชโองการ
16.     ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น จะต้องดำเนินการอย่างไร
          ตอบ  ให้องคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

17.     ในหมวด 2 ที่เกี่วข้องกับการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ หรือการอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นครองราชย์ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ ให้องค์กรใดทำหน้าที่แทน
           ตอบ  วุฒิสภา

หมวด สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

18.    การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
         ตอบ  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ

19.    สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีอะไรบ้าง
          ตอบ       1.  สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
                        2.  สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
                        3.  สิทธิในทรัพย์สิน
                        4.  สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
                        5.  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
                        6  สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา$ K# {8 K+ D' ^3 v
                        7.  สิทธิและเสรีภาพในการได้รับบริการสาธารณสุขจากสวัสดิการจากรัฐ) f% u& c$ U! f7 N
                        8.  สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
                        9.  เสรีภาในการชุมนุมและสมาคม
                      10.  สิทธิพิทักรัฐธรรมนูญ

20.     บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
          ตอบ     1.  การทรมาน  ทารุณกรรม  หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้
                      2.  การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม
                3.  การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด

21.     บุคคลมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
          ตอบ  1.  บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด-
                  2.  โทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิด มิได้ 
                  3.  ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
                  4.  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

22.      บุคคลมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ขั้นฟ้องร้อง และชั้นพิจารณาอย่างไร
           ตอบ  1.  สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
                    2.  สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้ทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างพอเพียง การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้ทราบเหตุผล ประกอบคำวินัจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง
                    3.  ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวด เร็ว และเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตอบสนองหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
                    4.  ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นเหมาะสมจากรัฐ

23.     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          ตอบ  12  ปี

24.    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  บุคคลอายุเริ่มตั้งแต่เท่ามีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะกวดอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
          ตอบ  อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ

25.    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลใดมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่ เสียค่าใช้จ่าย
         ตอบ  ผู้ยากไร้

26.    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีใดบ้าง
        ตอบ  กรณีที่เป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความเรียบร้อยทางศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบ อาชีพ  การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

27.    บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างองค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่จะมีการ จำกัดในเรื่องใด
         ตอบ  จำกัดไว้ในกฎหมายหรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม

28.    บุคคล ย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่จะถูกจำกัดในกรณีใดบ้าง
         ตอบ  การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน ส่วนได้เสียอันได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่นหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

29.     กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองอันเนื่องมาจากการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรค การเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดเป็นระยะเวลาเท่าใด
           ตอบ  5  ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย

30.    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลมีหน้าที่อะไรบ้าง
         ตอบ  1 . หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรม นุญนี้
                  2.  หน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย
                  3.  หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 
                  4.  หน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

31.    บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมอำนวย ความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนโดยอาศัยหลักการในการปฏิบัติหน้าที่
        ตอบ  หลักธรรมมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ข้อสอบถามถึงองค์ประกอบของหลักธรรมมาภิบาลว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
        ระวัง ! อย่าสับสนกันเรื่องพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ได้แก่การบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
                                (1)  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
                                (2)  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
                                (3)  มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
                                (4)  ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
                                (5)  มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
                                (6)  ประชาชนได้รับความอำนวยสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
                                (7)  มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

หมวด แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

32.    คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่า จะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อรัฐสภาปีละกี่ครั้ง
          ตอบ  ปีละ 1 ครั้ง

33.    คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการ บริหารราชการแผ่นดินซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเรื่องใด
         ตอบ  แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

34.    แนวนโยบายแห่งรัฐประกอบด้วยเรื่องใดบ้าง
         ตอบ    1.  แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
                    2.  แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
                    3.  แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
                    4.  แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
                    5.  แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
                    6.  แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
                    7.  แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                    8.  แนวนโยบายดานวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
                    9.  แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

35.        ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินอย่างไร
             ตอบ  (1)  บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
                     (2)  จัดระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ สนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบปนะมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่
                     (3)  กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ ของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น'
                     (4)  พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนว ทางในการปฏิบัติราชการ
                    (5)  จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
                    (6)  ดำเนินการให้หน่วยงานทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับ การดำเนินงานของรัฐตามกฎหมายของรัฐ ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม
                    (7)  จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระเพื่อติดตามสอดส่องให้ มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
                   (8)  ดำเนินการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่าง เหมาะสมการจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

หมวด รัฐสภา  (มีข้อสังเกตว่าเป็นหมวดที่มีการนำเนื้อหามาออกข้อสอบมากกว่า หมวดอื่น ๆ และมักจะมีการถามลวงในเรื่องขอตัวเลขเป็นประจำ

36.    รัฐสภาประกอบด้วยองค์กรใดบ้าง     
         ตอบ  สภาผู้แทนราษฎร (ปัจจุบัน คือ นายชัย ชิดชอบ)

38.    บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานรัฐสภา
         ตอบ  ประธานวุฒิสภา  (ปัจจุบัน คือ นายประสพสุข  บุญเดช)

39.    ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน รัฐสภาได้ ใครทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
          ตอบ  ประธานวุฒิสภา

40.     ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้แต่โดยคำ แนะนำ และยินยอมของใคร
          ตอบ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร

41.     สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
          ตอบ  480 คน (มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน และแบบสัดส่วน 80 คน ซึ่งมาจากการจัดแบ่งพื้นที่เลือกตั้งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดละ 10 คน )

42.     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่แต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานรแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของ สมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
           ตอบ  ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

43.     การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีใด
          ตอบ  เลือกตั้งโดยตรงและลับ

44.    ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึง 480 คน แต่มีจำนวนร้อยละเท่าใดของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร
          ตอบ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95  ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด (ข้อสอบอาจถามจำนวนคน ต้องตอบว่าไม่น้อยกว่า 456 คน)

45.     การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตเลือกตั้งและการกำหนดเขตเลือกตั้ง มีวิธีการอย่างไร
          ตอบ  1.  ให้คำนวณเกณฑ์จำนวนต่อสมาชิก 1 คน โดยคำนวณจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุด ท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน
                  2.  จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน                           
                  3.  จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนให้จังหวัดนั้น ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน
                  4.  การกำหนดเขตเลือกตั้งให้ดำเนินการโดยจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ไม่เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน
46.    บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
         ตอบ  1.  มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
                        2.  มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
                        3.  มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
                        4.  กรณีที่มีถิ่นอยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา

47.   บุคคลประเภทใดบ้างที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
        ตอบ          (1)  เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช
                         (2)  อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                         (3)  ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
                         (4)  วิกลจริต หรือจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

48.        ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
             ตอบ         (1)  มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                             (2)  มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                             (3)  เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งโดยทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
                            (4)  ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
                                    (ก)  มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
                                    (ข)  เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (ค)  เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่รับสมัครเลือกตั้งเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา
                                    (ง)  เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
. M, y6 T' J* ?              (5)  ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (4) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด7
                                   (6)  คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา

49.     อายุของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละกี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
          ตอบ  4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง (และสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งเช่นกัน)

50.    สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของ ที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรค การเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก
          ตอบ  ไม่น้อยกว่า 3 ใน 46

51.    สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดประชุมเกินจำนวนเท่าใดของจำนวนวันประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อย กว่า 120 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
         ตอบ  เกินกว่า 1 ใน 4

52.    เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในกี่วันนับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลง
         ตอบ  45 วัน

53.   การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยการตรากฎหมายใด
         ตอบ  พระราชกฤษฎีกา  (มีข้อสังเกตว่าการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการสภา ไม่ว่าจะเป็นการประกาศให้มีการเลือกตั้ง การเปิด-ปิดสมัยประชุมสภา หรือการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการประชุมสภาให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาด้วยเช่นกัน)

54.    การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาเท่าใด นับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎรและวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกัน ทั่วราชอาณาจักร
          ตอบ  ไม่น้อยกว่า 4 5วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน

55.    พรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทน ราษฎรในขณะแต่งตั้ง เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
          ตอบ  ไม่น้อยกว่า 1 ใน 56

56.    บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้าน 
         ตอบ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร

57.    วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวมทั้งสิ้นกี่คน
        ตอบ  150 คน (มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวมเป็น 76 คน มาจากการสรรหา 74 คน)

58.    คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
         ตอบ  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคนและตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มอบหมายจำนวนหนึ่งคนและตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการใน ศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวน 1 คน เป็นกรรมการ

59.    คุณสมับติของผํมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการ สรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเรื่องใดที่มีความแตกต่างไปจากข้อกำหนดเรื่อง คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
         ตอบ  มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และต้องไม่เป็นบุพการีคู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง (ข้อสังเกตว่าข้อสอบมักจะถามในประเด็นเรื่องอายุ ดัวนั้นจึงควรที่จะรู้ว่าตำแหน่งต้องมีอายุเท่าใด เช่น ส.ส. ต้องไม่ต่ำกว่า 25 ปี / รัฐมนตรีต้องไม่ต่ำกว่า 35 ปี / ส.ว. ต้องไม่ต่ำกว่า 40 ปี)

60.   ให้สมาชิกวุฒิสภาเข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวารที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของสมาชิกวุฒิสภาที่ว่างลงจะเหลือไม่ถึงกี่วัน จะไม่ดำเนินการเลือกตั้งหรือการสรรหาก็ได้
         ตอบ  180 วัน

61.   การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมวุฒิสภาต้องมีสมาชิกมาประชมไม่น้อย กว่าเท่าใด ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา จึงเป็นองค์ประชุม
        ตอบ  ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4

62.   ภายในกี่วันนับแต่งวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
        ตอบ  30 วัน

63.   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีทั้งสิ้น 9 ฉบับ ได้แก่อะไรบ้าง
        ตอบ        (1)  พระราชกฤษฎีกาประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
                      (2)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
                      (3)  พระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
                      (4)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเสียงประชามติ
                      (5)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
                      (6)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                      (7)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
                      (8)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                      (9)  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

64.    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบด้วยรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิ สภาให้กระทำเป็นกี่วาระ
        ตอบ  3 วาระ  (วาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ วาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับตามมาตรา และวาระที่สามขั้นลงมติโดยออกเสียงลงคะแนน ด้วยวิธีการเรียกชื่อลงและลงคะแนนโดยเปิดเผยr

65.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน ที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติได้
        ตอบ  ไม่น้อยกว่า 20 คน (นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี / ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย / ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่ เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้ รักษาการ ก็สามารถเสนอร่าง พ.ร.บ. ได้เช่นกัน)

66.    สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอและลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เสนอและลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในกี่วัน           
         ตอบ  30 วัน  (ระวังอย่าสับสนกับเรื่องของ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณราบจ่าย สภาผู้แทนราษฎรต้องวิเคราะห์และพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 105 วัน นับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร)

67.     การถามและการตอบกระทู้เรื่องการบริหาราชการแผ่นดินเรื่องใดเป็นปะญหาสำคัญ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนให้กระทำสัปดาห์ละกี่ครั้ง
          ตอบ        สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินนั้นได้เรื่องละไม่เกิน 3 ครั้ง)

68.    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่ มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัติติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายก รัฐมนตร
         ตอบ      ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 (กรณีไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีรายบุคคลต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 6)

69.   สามาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าไร มีสิทธิเข้าเสนอชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลง ข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มี การลงมติ
       ตอบ  ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
หมวด การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
 70.    ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากี่คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราช บัญญัติตามที่กำหนดในหวมด ๓ และหมวด ๕ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
         ตอบ  ไม่น้อยกว่า 10,000 คน

71.    ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก  สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด  หรืออัยการสูงสุด  ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติหรือส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
         ตอบ  ไม่น้อยกส่า 20,0000 คน


 หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
 72.    งบประมาณรายจ่ายแผ่นดินให้ตราเป็นกฎหมายชนิดใด
          ตอบ  พระ ราชบัญญัติ (ทั้งนี้ หากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ก็ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณก่อนนั้นพลางไปก่อน)


หมวด 9 คณะรัฐมนตรี
 73.    พระ มหากษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินกี่คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
         ตอบ  ไม่เกิน 35 คน (แสดงว่า ครม. มีทั้งสิ้นไม่เกิน 36 คน)

74.    ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
         ตอบ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 75.    นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่ากี่ปีมิได้
          ตอบ  8 ปี ติดต่อกัน

 76.    คณะ รัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการ ดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจทั้งนี้ ภายในกี่วันนับแต่วันที่เข้ารับหน้าที่
          ตอบ  15  วัน

 77.    หาก เกิดกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบอันด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หรือในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัย สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ คณะรัฐมนตรีจะต้องออกกฎหมายประเภทใดเพื่อที่จะจัดการกับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว
          ตอบ  พระ ราชกำหนด (ข้อสังเกต ข้อสอบอาจถามเรื่องลำดับชั้นของกฎหมาย ดังนั้นผู้เข้าสอบจึงควรต้องเรียงลำดับชั้นกฎหมายได้อย่างถูกต้องจากกฎหมาย แม่บทไปกฎหมายระดับรอง ได้แก่ รัฐธรรมนูญ/ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ / พระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมาย / พระราชกำหนด / พระราชกฤษฎีกา / กฎกระทรวง / ประกาศคณะปฏิวัติ / กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

78.    เมื่อ ประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก เห็นว่าพระราชกำหนดนั้น ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัย สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ทำเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และให้ประธานสภาแห่งนั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในกี่วันนับแต่ วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย
         ตอบ  ภาย ใน 30 วัน (โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 จึง จะถือว่าพระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวอ้าง)


หมวด  10  ศาล
 79.    การจัดตั้งศาลจะต้องตราเป็นกฎหมายชนิดใด
          ตอบ  พระราชบัญญัติ (มีข้อสังเกตว่า กรณีการจัดตั้งจังหวัดก็ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติด้วยเช่นกัน)

80.     คณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่นประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
          ตอบ  ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 4 คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ

81.   ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยคณะตุลาการทั้งสิ้นกี่คน
         ตอบ  9 คน (อายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี มีวาระดำรงตำแหน่ง 9 ปี ได้แค่วาระเดียว)

82.    ศาล รัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลที่มีคุณสมบัติใดบ้าง
         ตอบ    (1)  ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
                   (2)  ตุลาการในศาลปกครองซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
                   (3)  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 จำนวน 2 คน
                   (4)  ผู้ ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้ รับเลือกตามมาตรา 206 จำนวน 2 คน

         (มี ข้อสังเกตว่าวุฒิสภาจะเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ในการ แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นผู้เข้าจึงควรที่จะรู้ว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง  ซึ่ง องค์กรอสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คตง. )

83.    องค์คณะตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่ากี่คน
         ตอบ  ไม่น้อยกว่า 5 คน (การวินิจฉัยให้ถือเสียงข้างมาก)

 84.   ศาลยุติธรรมมีกี่ชั้น
         ตอบ    3 ชั้น ได้แก่ ศาลชั้นต้น ศาลอุธรณ์ ศาลฎีกา (โดยมีสำนักงานเลขาธิการศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานธุรการขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา)

85.    ศาล ใดมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา
         ตอบ  ศาลฎีกา

86.    ศาล ใดมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
         ตอบ  ศาล อุธรณ์ (ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด โดยต้องใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว)

87.    ให้ มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำ กว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนกี่คน
         ตอบ  9 คน

88.    ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทใด
         ตอบ    1.  คดี พิพาทระหว่างหน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง ตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ
                   2.  คดี พิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ของหน่วยราชการ

89.    หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ในฐานะหน่วยธุรการศาลปกครอง
         ตอบ  สำนักเลขาธิการศาลปกครอง (ขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุด)


หมวด 11  องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ 1 : องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

 90.    คณะ กรรมการการเลือกตั้ง มีทั้งหมดกี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ ประจักษ์
          ตอบ  5 คน (อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี / มีวาระดำรงตำแหน่ง  7 ปี ได้แค่วาระเดียว)

         (ข้อ สังเกต ข้อสอบอาจถามว่าบุคคลใดไม้ใช่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงควรต้องรู้ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 5 คน มีใครบ้าง ซึ่งได้แก่ 1) นายอภิชาต  สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน คือ นางสดศรี  สัตยธรรม นายประพันธ์  นัยโกวิท  นายสมชัย  จึงประเสริฐ  และนายสุเมธ  อุปนิสากร)

91.    คณะกรรมการสรรหากรรมการเลือกตั้งมีจำนวนทั้งหมดกี่คน
         ตอบ  7 คน

92.    คณะกรรมการการสรรหากรรมการเลือกตั้งประกอบด้วยใครบ้าง
         ตอบ    1) ประธานศาลฎีกา  2) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  3) ประธานศาลปกครองสูงสุด  4)  ประธาน สภาผู้แทนราษฎร 5) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 6) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และ 7 ) บุคคลซึ่งประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน

93.    การ สรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้กรรมการทำหน้าที่สรรหาผู้มีคุณสมบัติซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนกี่คน เสนอต่อประธานวุฒิสภาโดยเสนอความพร้อมยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
         ตอบ  3คน

94.    ให้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนกี่คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอความพร้อมยินยอมของผู้นั้น
         ตอบ  2 คน

 95.   ในการที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งคณะให้ดำเนินการสรรหา ภายในกี่วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
         ตอบ  90 วัน

96.    ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนกี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
         ตอบ  3 คน (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ได้เพียงวาระเดียว) โดยมีที่มาจากการคัดสรรโดยคณะกรรมการสรรหาเช่นเดียวกันกันกับของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง

97.    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีจำนวนกี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
         ตอบ  9 คน (มีวาระดำรงตำแหน่ง 9 ปี ได้เพียงวาระเดียว)

98.    คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามมีจำนวน กี่คนประกอบด้วยใครบ้าง
         ตอบ    5 คน ได้แก่ 1) ประธานศาลฎีกา  2) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  3) ประธานศาลปกครอง 4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร  5) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  (ระวังอย่าจำสับสนกับเรื่องการสรรหา กกต. และผู้ตรวจการแผ่นดิน)

99.    มติ ของวุฒิสภาให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ วุฒิสภา
         ตอบ  ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4

100. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไร
         ตอบ    1.  สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนออกจากตำแหน่งเสนอต่อวุฒิสภา
                   2. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง
                  3.  ไต่ สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
                 4.  กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

101. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมดกี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
        ตอบ  7 คน (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ได้เพียงวาระเดียว)
102. บุคคลใดเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานดานธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
         ตอบ  ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (คุณหญิงจารุวรรณ  เมณฑกา)

ส่วนที่ 2 : องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
103.  องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 11 ส่วนที่ 2 มีกี่องค์กร และมีองค์กรใดบ้าง
         ตอบ  3 องค์กร ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชาแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

104. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำนวนทั้งหมดกี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
         ตอบ  7 คน (มีวาระดำรงตำแหน่ง 7 ปี ได้เพียงวาระเดียว) โดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนที่เป็นประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

105. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไร
         ตอบ    1.  ตรวจ สอบและรายงานการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงาน
                   2.  เสนอ เรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อ สิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
                   3.  เสนอ เรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
                  4.  ฟ้อง คดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม
                 5.  เสนอนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                6.  ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
                7.  ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
                8.  จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา

 หมวด 12  การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
 106. ผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดบ้าง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง
         ตอบ    (1) นายกรัฐมนตรี
                    (2) รัฐมนตรี
                    (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                    (4) สมาชิกวุฒสภา
                    (5) ข้าราชการเมืองอื่น
                    (6) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

107. ผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามข้อ 103 มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติอย่างไร
         ตอบ    1. ในกรณีที่เป็นการเข้ารับตำแหน่ง ให้ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง
                   2. ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตำแหน่ง ให้ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
                   3. ในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นจากตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่ง นั้นตายภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย
                   4. ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง นอกจากต้องยื่นบัญชีแล้ว ให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริง ในวันครบ 1 ปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งโดยยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปีด้วย

108. ผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีรายการแสดงทรัพย์สินและหนี้ สินและเอกสารปะกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ใครวินิจฉัยต่อไป
         ตอบ  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น: